4/5/62

บทที่ 6 การใช้งานโปรแกรม Joomla

การใช้งานโปรแกรม Joomla

Joomla เป็นโปรแกรม OpenSource ทีใช้สำหรับสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ หรือบริหารจัดการเนื้อหารวมถึงโครงสร้างของเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น และยังเป็น CMS ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ อีกด้วย joomla ก็มีการ Update เวอร์ชั่นอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เรามั่นใจได้ว่า การออกแบบเว็บไซต์ด้วย CMS joomla จะมีความปลอดภัย ซึ่งปัจุบันได้มีการปล่อย Joomla 3.7 ให้ได้ทดลองใช้กันแล้ว
โดยขั้นตอนและวีธีการติดตั้ง Joomla 3.7 มีดังนี้
ก่อนอื่นเราต้องมีโปรแกรมจำลอง server ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน โดยใช้ Xampp จากนั้นทำการเราก็ start Apache และ MySQL ใน Xampp ซึ่งเราจะใช้ในการสร้างฐานข้อมูล

สามารถโหลดไฟล์ติดตั้ง Joomla_3.7.0 ดาวโหลด

ขั้นตอนที่ ดาวน์โหลดไฟล์ Joomla 3.7 ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน เมื่อเราโหลดไฟล์มามันจะเป็นไฟล์ .zip ให้เราทำการแตกไฟล์ก่อน


แสดงดาวน์โหลดไฟล์ Joomla 3.7


ขั้นตอนที่ 2. สร้างโฟล์เดอร์ตามชื่อไฟล์ที่เราโหลดมาในไดฟ์ที่มีโฟล์เดอร์ xampp :C > xampp > htdocs >สร้างโฟล์เดอร์ เมื่อสร้างโฟล์เดอร์แล้วให้นำไฟล์ที่เราแตกไฟล์มาวางในในโฟล์เดอร์ที่สร้าง


แสดงการสร้างโฟล์เดอร์ตามชื่อไฟล์


ขั้นตอนที่ 3. เมื่อวางไฟล์เรียบร้อยแล้ว ให้เปิด phpMyAdmin ขึ้นมา โดยพิมพ์คำว่า localhost บนบราวน์เซอร์ เพื่อสร้างฐานข้อมูล
3.1 เลือก databases
3.2 สร้างฐานข้อมูลชื่อเดียวกับโฟล์เดอร์ที่เราสร้างไว้
3.3 ให้ใส่ utf8_general_ci
           3.4 คลิก create


เปิด phpMyAdmin ขึ้นมา

ขั้นตอนที่ 4. หลังจากที่สร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้ว ให้พิมพ์ locaalhost /ชื่อฐานข้อมูลที่เราสร้างไว้เมื่อสักครู่บนบราวน์เซอร์ ตัวอย่าง localhost/joomla3.7 แล้วกด Eenter รอสักครู่ก็จะแสดงหน้า Configuration หรือการตั้งค่าหลักของเว็บขึ้น


แสดงหน้า Configuration

ขั้นตอนที่ 5. เมื่อแสดงหน้า Configuration หรือการตั้งค่าหลักของเว็บ ให้เราทำการเลือก Select Language เป็นภาษาไทย จากนั้นก็กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนต่างๆที่สำคัญ ให้ครบ
5.1 Site Name: ชื่อเว็บไซต์
5.2 Administrator Email: อีเมลผู้ดูแลระบบ
5.3 Administrator Username: ชื่อผู้ดูแลระบบ
5.4 Administrator Password: รหัสผ่านผู้ดูแลระบบ
5.5 Confirm Administrator Password: ยืนยันรหัสผ่านผู้ดูแลระบบ
           5.6 เมื่อทำการกรอกรายละเอียดที่สำคัญครบแล้วให้คลิกปุ่ม Next หรือต่อไป


แสดงหน้า Configuration

ขั้นตอนที่ 6. หลังจากที่คลิกปุ่ม Next หรือต่อไป ก็จะแสดงหน้า Database Configuration เป็นการกำหนดค่าฐานข้อมูล มีช่องข้อมูลสำคัญที่ต้องทำการกรอก
6.1 Host Name : ชื่อของ host กรอกเป็น localhost
6.2 Username : ผู้ใช้งาน เช่น root
6.3 Database Name : ชื่อฐานข้อมูล จากตัวอย่างเป็น joomla3.7
           6.4 เมื่อกรอกรายละเอียดสำคัญครบแล้วให้คลิก Next หรือต่อไป เพื่อทำการติดตั้งต่อไป



แสดงหน้า Database Configuration

ขั้นตอนที่ 7. คลิก Next หรือต่อไป ก็จะขึ้นหน้าแสดงภาพรวมการกำหนดค่าทั้งหมดที่ได้กำหนดมา เราสามารถตรวจดูรายละเอียดขอมูลว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องแล้ว ให้คลิก Install เพื่อทำการติดตั้ง


แสดงภาพรวมการกำหนดค่าทั้งหมด

ขั้นตอนที่ 8. หลีงจากที่เราทำการคลิก Install หรือติดตั้ง เพื่อทำการติดตั้ง ให้รอโปรแกรมทำการติดตั้งสักครู่


โปรแกรมทำการติดตั้งสักครู่

ขั้นตอนที่ 9. เมื่อเราทำการติดตั้งเสร็จ ก็จะขึ้นหน้าจอเว็บของ Joomla ให้เราคลิกที่ Remove Installation Folder


คลิกที่ Remove Installation Folder

ขั้นตอนที่ 10. เมื่อคลิกที่ Remove Installation Folder แล้วโฟล์เดอร์ Installation ในโฟล์เดอร์ Joomla ก็จะหายไป


แสดงโฟล์เดอร์ Installation

ขั้นตอนที่ 11. หน้าตาของเว็บเมื่อทำากราติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว

หน้าตาของเว็บ

ขั้นตอนที่ 12. หน้าแสดงของการเข้าสู่ระบบจัดการเว็บไซต์ของ Joomla 3.7


ของการเข้าสู่ระบบ

ขั้นตอนที่ 13. หน้าเว็บไซต์ที่ใช้ในการจัดการส่วนต่างๆของ Joomla 3.7


หน้าเว็บไซต์

วีดีโอวิธีติดตั้ง จุมล่า 3.7 บนจำลองเซิฟเวอร์ xampp บน Windows install joomla 3.7 สร้างเว็บ





บทที่ 5 วัฏจักร การพัฒนาระบบ การจัดการความรู้

วัฏจักร การพัฒนาระบบ การจัดการความรู้







วัฏจักรการพัฒนาระบบ คือ กระบวนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ โดยภายในวงจรนั้นจะแบ่งกระบวนการพัฒนาออกเป็นกลุ่มงานหลัก ๆ ดังนี้ ด้านการวางแผน (Planning Phase) ด้านการวิเคราะห์ (Analysis Phase) ด้านการออกแบบ (Design Phase) ด้านการสร้างและพัฒนา (Implementation Phase)

        ความสำคัญ ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอน ที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร 

ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้น ด้วยกัน คือ
        1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
        2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
        3. วิเคราะห์ (Analysis)
        4. ออกแบบ (Design)
        5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)
        6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)
        7. บำรุงรักษา (Maintenance)

ขั้นที่ 1 : เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
        ระบบสารสนเทศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้บริหารหรือผู้ใช้ตระหนักว่า ต้องการระบบสารสนเทศหรือระบบจัดการเดิม ได้แก่ระบบเอกสารในตู้เอกสาร ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน
        ปัจจุบันผู้บริหารตื่นตัวกันมากที่จะให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศมาใช้ในหน่วยงานของตน ในงานธุรกิจ อุตสาหกรรม หรือใช้ในการผลิต ตัวอย่างเช่น บริษัทของเรา จำกัด ติดต่อซื้อสินค้าจากผู้ขายหลายบริษัท ซึ่งบริษัทของเราจะมีระบบ MIS ที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินที่บริษัทขอเราติดค้างผู้ขายอยู่ แต่ระบบเก็บข้อมูลผู้ขายได้เพียง 1,000 รายเท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้ขายมีระบบเก็บข้อมูลถึง 900 ราย และอนาคตอันใกล้นี้จะเกิน 1,000 ราย ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงเรียกนักวิเคราะห์ระบบเข้ามาศึกษา แก้ไขระบบงาน


ขั้นตอนที่ 2 : ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
        จุดประสงค์ของการศึกษาความเป็นไปได้ก็คือ การกำหนดว่าปัญหาคืออะไรและตัดสินใจว่าการพัฒนาสร้างระบบสารสนเทศ หรือการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมมีความเป็นไปได้หรือไม่โดยเสียค่าใช้จ่ายและเวลาน้อยที่สุด และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
ปัญหาต่อไปคือ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องกำหนดให้ได้ว่าการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความเป็นไปได้ทางเทคนิคและบุคลากร ปัญหาทางเทคนิคก็จะเกี่ยวข้องกับเรื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือเก่าๆถ้ามี รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ด้วย ตัวอย่างคือ คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในบริษัทเพียงพอหรือไม่ คอมพิวเตอร์อาจจะมีเนื้อที่ของฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอ รวมทั้งซอฟต์แวร์ ว่าอาจจะต้องซื้อใหม่ หรือพัฒนาขึ้นใหม่ เป็นต้น ความเป็นไปได้ทางด้านบุคลากร คือ บริษัทมีบุคคลที่เหมาะสมที่จะพัฒนาและติดตั้งระบบเพียงพอหรือไม่ ถ้าไม่มีจะหาได้หรือไม่ จากที่ใด เป็นต้น นอกจากนั้นควรจะให้ความสนใจว่าผู้ใช้ระบบมีความคิดเห็นอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งความเห็นของผู้บริหารด้วย


ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis)
        เริ่มเข้าสู่การวิเคราะห์ระบบ การวิเคราะห์ระบบเริ่มตั้งแต่การศึกษาระบบการทำงานของธุรกิจนั้น ในกรณีที่ระบบเราศึกษานั้นเป็นระบบสารสนเทศอยู่แล้วจะต้องศึกษาว่าทำงานอย่างไร เพราะเป็นการยากที่จะออกแบบระบบใหม่โดยที่ไม่ทราบว่าระบบเดิมทำงานอย่างไร หรือธุรกิจดำเนินการอย่างไร หลังจากนั้นกำหนดความต้องการของระบบใหม่ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบจะต้องใช้เทคนิคในการเก็บข้อมูล (Fact-Gathering Techniques) ดังรูป ได้แก่ ศึกษาเอกสารที่มีอยู่ ตรวจสอบวิธีการทำงานในปัจจุบัน สัมภาษณ์ผู้ใช้และผู้จัดการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ เอกสารที่มีอยู่ได้แก่ คู่มือการใช้งาน แผนผังใช้งานขององค์กร รายงานต่างๆที่หมุนเวียนใน ระบบการศึกษาวิธีการทำงานในปัจจุบันจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบรู้ว่าระบบจริงๆทำงานอย่างไร ซึ่งบางครั้งค้นพบข้อผิดพลาดได้ ตัวอย่าง เช่น เมื่อบริษัทได้รับใบเรียกเก็บเงินจะมีขั้นตอนอย่างไรในการจ่ายเงิน ขั้นตอนที่เสมียนป้อนใบเรียกเก็บเงินอย่างไร เฝ้าสังเกตการทำงานของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจและเห็นจริงๆ ว่าขั้นตอนการทำงานเป็นอย่างไร ซึ่งจะทำให้นักวิเคราะห์ระบบค้นพบจุดสำคัญของระบบว่าอยู่ที่ใด
        การสัมภาษณ์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่นักวิเคราะห์ระบบควรจะต้องมีเพื่อเข้ากับผู้ใช้ได้ง่าย และสามารถดึงสิ่งที่ต้องการจากผู้ใช้ได้ เพราะว่าความต้องการของระบบคือ สิ่งสำคัญที่จะใช้ในการออกแบบต่อไป ถ้าเราสามารถกำหนดความต้องการได้ถูกต้อง การพัฒนาระบบในขั้นตอนต่อไปก็จะง่ายขึ้น เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจะนำมาเขียนรวมเป็นรายงานการทำงานของ ระบบซึ่งควรแสดงหรือเขียนออกมาเป็นรูปแทนที่จะร่ายยาวออกมาเป็นตัวหนังสือ การแสดงแผนภาพจะทำให้เราเข้าใจได้ดีและง่ายขึ้น หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบ อาจจะนำข้อมูลที่รวบรวมได้นำมาเขียนเป็น "แบบทดลอง" (Prototype) หรือตัวต้นแบบ แบบทดลองจะเขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ และที่ช่วยให้ง่ายขึ้นได้แก่ ภาษายุคที่ 4 (Fourth Generation Language) เป็นการสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อใช้งานตามที่เราต้องการได้ ดังนั้นแบบทดลองจึงช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ขั้นตอนที่4 : การออกแบบ (Design)
        ในระยะแรกของการออกแบบ นักวิเคราะห์ระบบจะนำการตัดสินใจ ของฝ่ายบริหารที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้วย (ถ้ามีหรือเป็นไปได้) หลังจากนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะนำแผนภาพต่างๆ ที่เขียนขึ้นในขั้นตอนการวิเคราะห์มาแปลงเป็นแผนภาพลำดับขั้น (แบบต้นไม้) ดังรูปข้างล่าง เพื่อให้มองเห็นภาพลักษณ์ที่แน่นอนของโปรแกรมว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร และโปรแกรมอะไรบ้างที่จะต้องเขียนในระบบ หลังจากนั้นก็เริ่มตัดสินใจว่าควรจะจัดโครงสร้างจากโปรแกรมอย่างไร การเชื่อมระหว่างโปรแกรมควรจะทำอย่างไร ในขั้นตอนการวิเคราะห์นักวิเคราะห์ระบบต้องหาว่า "จะต้องทำอะไร (What)" แต่ในขั้นตอนการออกแบบต้องรู้ว่า " จะต้องทำอย่างไร(How)"
ในการออกแบบโปรแกรมต้องคำนึงถึงความปลอดภัย (Security) ของระบบด้วย เพื่อป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น "รหัส" สำหรับผู้ใช้ที่มีสิทธิ์สำรองไฟล์ข้อมูลทั้งหมด เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 5 : การพัฒนาระบบ (Construction)
        ในขั้นตอนนี้โปรแกรมเมอร์จะเริ่มเขียนและทดสอบโปรแกรมว่า ทำงานถูกต้องหรือไม่ ต้องมีการทดสอบกับข้อมูลจริงที่เลือกแล้ว ถ้าทุกอย่างเรียบร้อย เราจะได้โปรแกรมที่พร้อมที่จะนำไปใช้งานจริงต่อไป หลังจากนั้นต้องเตรียมคู่มือการใช้และการฝึกอบรมผู้ใช้งานจริงของระบบ
        ระยะแรกในขั้นตอนนี้นักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมสถานที่สำหรับ เครื่องคอมพิวเตอร์แล้วจะต้องตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเรียบร้อยดี 
        โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมตามข้อมูลที่ได้จากเอกสารข้อมูลเฉพาะของการออกแบบ (Design Specification) ปกติแล้วนักวิเคราะห์ระบบไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการเขียนโปรแกรม แต่ถ้าโปรแกรมเมอร์คิดว่าการเขียนอย่างอื่นดีกว่าจะต้องปรึกษานักวิเคราะห์ระบบเสียก่อน เพื่อที่ว่านักวิเคราะห์จะบอกได้ว่าโปรแกรมที่จะแก้ไขนั้นมีผลกระทบกับระบบทั้งหมดหรือไม่ โปรแกรมเมอร์เขียนเสร็จแล้วต้องมีการทบทวนกับนักวิเคราะห์ระบบและผู้ใช้งาน เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด วิธีการนี้เรียกว่า "Structure Walkthrough " การทดสอบโปรแกรมจะต้องทดสอบกับข้อมูลที่เลือกแล้วชุดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเลือกโดยผู้ใช้ การทดสอบเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ แต่นักวิเคราะห์ระบบต้องแน่ใจว่า โปรแกรมทั้งหมดจะต้องไม่มีข้อผิดพลาด

ขั้นตอนที่ 6 : การปรับเปลี่ยน (Construction)
        ขั้นตอนนี้บริษัทนำระบบใหม่มาใช้แทนของเก่าภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ การป้อนข้อมูลต้องทำให้เรียบร้อย และในที่สุดบริษัทเริ่มต้นใช้งานระบบใหม่นี้ได้
        การนำระบบเข้ามาควรจะทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ที่ดีที่สุดคือ ใช้ระบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบเก่าไปสักระยะหนึ่ง โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกันแล้วเปรียบเทียบผลลัพธ์ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าเรียบร้อยก็เอาระบบเก่าออกได้ แล้วใช้ระบบใหม่ต่อไป

ขั้นตอนที่ 7 : บำรุงรักษา (Maintenance)
        การบำรุงรักษาได้แก่ การแก้ไขโปรแกรมหลังจากการใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขโปรแกรมหลังจากใช้งานแล้ว สาเหตุที่ต้องแก้ไขระบบส่วนใหญ่มี 2 ข้อ คือ
        1. มีปัญหาในโปรแกรม (Bug)
        2. การดำเนินงานในองค์กรหรือธุรกิจเปลี่ยนไป 
            จากสถิติของระบบที่พัฒนาแล้วทั้งหมดประมาณ 40% ของค่าใช้จ่ายในการแก้ไขโปรแกรม เนื่องจากมี "Bug" ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบควรให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษา ซึ่งปกติจะคิดว่าไม่มีความสำคัญมากนัก
        เมื่อธุรกิจขยายตัวมากขึ้น ความต้องการของระบบอาจจะเพิ่มมากขึ้น เช่น ต้องการรายงานเพิ่มขึ้น ระบบที่ดีควรจะแก้ไขเพิ่มเติมสิ่งที่ต้องการได้
        การบำรุงรักษาระบบ ควรจะอยู่ภายใต้การดูแลของนักวิเคราะห์ระบบ เมื่อผู้บริหารต้องการแก้ไขส่วนใดนักวิเคราะห์ระบบต้องเตรียมแผนภาพต่าง ๆ และศึกษาผลกระทบต่อระบบ และให้ผู้บริหารตัดสินใจต่อไปว่าควรจะแก้ไขหรือไม่








บทที่ 6 การใช้งานโปรแกรม Joomla

การใช้งานโปรแกรม Joomla Joomla เป็นโปรแกรม OpenSource ทีใช้สำหรับสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ หรือบริหารจัดการเนื้อหารวมถึงโครงสร้างของเว็บไซ...