14/3/62

บทที่ 4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้




องค์กรแห่งการเรียนรู้
การที่จะสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ขึ้นมาได้นั้นมีองค์ประกอบด้วยกันหลายอย่าง ประการที่หนึ่งบุคคลแห่งการเรียนรู้ ต้องเป็นบุคคลที่รอบรู้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน จึงจะเป็นบุคคลที่มีความสามารถและนำพาองค์กรให้พัฒนาขึ้นไปได้ ประการที่สองแบบแผนทางความคิด สมาชิกในองค์กรมีแบบแผนทางจิตสำนึกหรือความมีสติที่เอื้อต่อการสะท้อนภาพที่ถูกต้องชัดเจน ประการที่สามการมีวิสัยทัศน์ร่วม มีภาพอนาคตที่ชัดเจน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ประการที่สี่การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันด้วยใจที่มุ่งมั่นและสามัคคีกันจริงๆ จะต้องมีความเชื่อใจต่อกันในทีม ประการที่ห้าการคิดอย่างเป็นระบบ โดยดูให้เห็นภาพรวมหรือองค์รวม ไม่ใช่มองแบบแยกส่วน และนี้ก็คือองค์ประกอบที่จะส่งผลให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)หมายถึง องค์กรที่มีการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยน และค้นหาวิธีใหม่ๆในการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร โดยแบ่งองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้
  1. การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) หมายถึง สถานที่และลักษณะทางกายภาพซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์กร
  2. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน ใช้ความรู้/แนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และมีการจัดเก็บเป็นคลังความรู้ขององค์กรต่อไป
  3. เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology) หมายถึง ระบบการเรียนรู้และสนับสนุนการทำงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
  4. การให้อำนาจแก่บุคคล (People Empowerment) หมายถึง การให้อำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการปฏิบัติการแก่บุคลากร
  5. พลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamic) หมายถึง ความหลากหลายของการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร การเรียนรู้จากการปรับตัว การคาดการณ์ การเรียนรู้และการปฏิบัติโดยใช้ทักษะการเรียนรู้ เช่น แบบแผนทางความคิด (Mental Model) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) และการสนทนาอย่างมีแบบแผน (Dialogue)

บทที่ 3 กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้



กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะ ช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การบ่งชี้ความรู้  -  เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร

2. การสร้างและแสวงหาความรู้  -  เช่นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ  -  เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

4. การประมวลและกลั้นกรองความรู้   (Knowledge Codification and Refinement)

5. การเข้าถึงความรู้   (Knowledge Access)

6. การแบ่งปันแลกเปลียนความรู้   (Knowledge Sharing)   ความรู้นั้นทำให้เกิดประโยชน์กับองค์กรหรือไม่ 

7. การเรียนรู้   (Learning)   ทำให้องค์กรดีขึ้นหรือไม่มีการแบ่งปันความรู้ให้กันหรือไม่ เรานำความรู้มาใช้งานได้ง่ายหรือไม่ความรู้อยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบบอะไรจะเอามาเก็บรวมกันได้อย่างไร
จะแบ่งประเภท หัวข้ออย่างไรจะทำให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์อย่างไร เราต้องมีความรู้เรื่องอะไร เรามีความรู้เรื่องนั้นหรือยัง

บทที่ 6 การใช้งานโปรแกรม Joomla

การใช้งานโปรแกรม Joomla Joomla เป็นโปรแกรม OpenSource ทีใช้สำหรับสร้างหรือพัฒนาเว็บไซต์ หรือบริหารจัดการเนื้อหารวมถึงโครงสร้างของเว็บไซ...