ความหมายความรู้จากนักวิชาการ
ประเวศ
วะสี กล่าวว่า
1. ระดับที่เกิดความรู้
ซึ่งหมายถึง การรู้ความจริง การที่บุคคลจะทำอะไรให้สำเร็จได้
บุคคลนั้นต้องรู้และใช้ความจริง ความรู้ต้องเป็นความจริง
เพราะการใช้ความจริงทำให้ทำได้ถูกต้อง
2. ระดับที่เกิดปัญญา เป็นระดับที่สามารถบูรณาการ หรือเชื่อมโยงความรู้ได้
3. ระดับที่เกิดจิตสำนึก คือเกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และเข้าใจตนเองว่าสัมพันธ์กับสรรพสิ่งอย่างไร
2. ระดับที่เกิดปัญญา เป็นระดับที่สามารถบูรณาการ หรือเชื่อมโยงความรู้ได้
3. ระดับที่เกิดจิตสำนึก คือเกิดความเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ และเข้าใจตนเองว่าสัมพันธ์กับสรรพสิ่งอย่างไร
วิจารณ์พานิช กล่าวว่า หมายถึงเครื่องมือการบรรลุเป้าหมาย 4 ประการไปพร้อม กัน ได้แก่ 1.บรรลุเป้าหมายของงาน 2.บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน 3.บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์การไปเป็นองค์การเรียนรู้ 4.บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ
Petre
Senge กล่าวว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้
คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
เป็นที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ หลากหลายมากมาย
ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจ
และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน
Davenport and Prusak กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ
ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทำงานสำหรับการประเมินและรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่
Hideo Yamazaki กล่าวว่า “ ความรู้” คือ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ
เชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุป
และตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา
Ikujiro Nonaka กล่าวว่า ได้จำแนกความรู้ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์
การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่างๆ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดในรูปแบบของตัวเลข สูตร
หรือลายลักษณ์อักษรได้ยาก ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้
และเป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน
2. Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
2. Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
ประพนธ์ ผาสุขยืด กล่าวว่า ได้เสนอกรอบความคิดการจัดการความรู้ แบบปลาทู (Tuna Model) เป็นกรอบความคิดอย่างง่ายในการจัดการความรู้ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
(สคส.) โดยเปรียบการจัดการความรู้เสมือนปลาหนึ่งตัว ซึ่งมีส่วนประกอบ 3ส่วน คือ ส่วนหัว ลำตัว และหางปลา
1.ส่วนหัวปลา
(Knowledge Vision : KV) ส่วนที่เป็นเป้าหมาย คือเป้าหมาย วิสัยทัศน์หรือทิศทางของการจัดการความรู้
มองหาเส้นทางที่เดินทางไป แล้วคิดวิเคราะห์ว่า จุดหมายอยู่ที่ไหนต้องว่ายแบบใดไปในเส้นทางไหน
2.ส่วนกลางลำตัว
(Knowledge Sharing : KS) เป็นส่วนกิจกรรม คือ
ส่วนลำตัวที่มีหัวใจของปลาอยู่ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ในที่นี้เราจะเปรียบเป็น การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
3.ส่วนที่เป็นหางปลา (Knowledge Assets : KA) เป็นส่วนการจดบันทึก คือ
องค์ความรู้ที่องค์กรได้เก็บสะสมไว้เป็นคลังความรู้หรือขุมความรู้ ซึ่งมาจาก 2 ส่วนคือ
· ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้เปิดเผย (Eplicit Knowledge) คือ ความรู้เชิงทฤษฎีที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น
เอกสาร ตำรา และคู่มือปฏิบัติงาน เป็นต้น
· ความรู้ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน
ไม่ปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก
เมื่อบุคคลออกจากองค์กรไปแล้ว และความรู้นั้นยังคงอยู่กับองค์กร ไม่สูญหายไปพร้อมกับตัวบุคคล